ความรู้เรื่อง ERP
การประยุกต์ใช้ระบบ Multi Dimensions ในการเชื่อมข้อมูลสินค้ากับมิติอื่น
ผังบัญชีของคลังสินค้าที่มีการแยกเป็นรายการย่อยตามหมวดหมู่สินค้า เมื่อเราต้องการแยกย่อยในมิติของสาขา เราจะต้องเพิ่มจำนวนหมวดหมู่ย่อยของผังบัญชีจำนวนที่เป็นทวีคูณ
1. 15000 สินค้าคงคลัง
2. 15010 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า
3. 15011 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า คลังสำนักงานใหญ่
4. 15012 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า คลังเชียงใหม่
5. 15020 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง
6. 15021 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง คลังสำนักงานใหญ่
7. 15022 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง คลังเชียงใหม่
8. 15030 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ
9. 15031 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ คลังสำนักงานใหญ่
10. 15032 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ คลังเชียงใหม่
ในการเพิ่มข้อมูลสาขา เราต้องแก้ไขข้อมูลผังบัญชีตัวอื่นที่เกี่ยวข้องอีกเช่น รายได้จากการขาย ต้นทุนขาย รายจ่ายจากการซื้อสินค้า จะเห็นว่ามีจำนวนข้อมูลที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนมาก
นอกจากการเพิ่มข้อมูลในผังบัญชีแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อก็คือโปรแกรมบัญชีมีการออกแบบให้รองรับระบบสาขา เพราะในระบบซื้อขาย เมื่อมีการซื้อขายสินค้าที่สำนักงานสาขา ซอฟท์แวร์บัญชีต้องสามารถลงบัญชีตามรหัสบัญชีของสาขาได้
การประยุกต์ใช้ระบบ Multi Dimensions โดยให้สาขาเป็นมิติหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้ดังนี้
1. 15000 สินค้าคงคลัง
2. 42000 รายได้จากการขายสินค้า
Dimension กลุ่มสินค้า
1. อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. วัสดุก่อสร้าง
3. เครื่องมือ
Dimension สาขา
1. สำนักงานใหญ่
2. เชียงใหม่
การใช้โปรแกรมบัญชีแบบ Multi Dimensions ทำให้การเพิ่มข้อมูลต่างๆ ทำได้ง่าย ระบบจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละมิติให้อัตโนมัติ