ความรู้เรื่อง ERP
ความรู้เกี่ยวกับระบบ Multi Dimensions ทั้งในส่วนของ หลักการพื้นฐาน วิธีการออกแบบ การบันทึกข้อมูล และการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบ Multi Dimension เพื่อการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ
ธุรกรรมต่างๆในองค์กร นอกจากการบันทึกรายการตามปกติ เราต้องการดูข้อมูลในมุมมองอื่นๆประกอบเช่น
- สินค้า – ยอดขายตามหมวดหมู่
- ลูกค้า – ยอดขายตามกลุ่มลูกค้า พื้นที่
- พนักงานขาย – ยอดขายตามทีมงาน พื้นที่
- ภายในบริษัท – ยอดขายตามสาขา, ตามภูมิภาค
- การทำ Cost Center, Profit Center
โครงสร้างของโปรแกรมบัญชีแบบ Multi Dimensions
โปรแกรมบัญชี DimensionERP เป็นโปรแกรมบัญชีหลายมิติ ที่ออกแบบให้ข้อมูลในแต่ละส่วนมีข้อมูลมิติที่ส่วนนั้นใช้ผูกติดอยู่ตั้งแต่เริ่ม เช่นข้อมูลลูกค้าก็จะผูกอยู่กับกลุ่มลูกค้า พื้นที่ ข้อมูลสินค้าก็จะผูกอยู่กับมิติของกลุ่มสินค้าไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียมฐานข้อมูล หรือพนักงานขายก็จะมีมิติสาขา ทีมขาย แผนก ผูกไว้ เมื่อมีการเพิ่มลูกค้าใหม่ เพิ่มสินค้า หรือเพิ่มพนักงานใหม่ เราก็จะผูกค่ามิติที่ต้องใช้ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนนี้
ทำให้การบันทึกข้อมูลระหว่างการทำรายการต่างๆเช่นการขายสินค้า การซื้อสินค้า การรับจ่ายเงิน ในรูปแบบหลายมิติได้สะดวก ไม่ต้องมีการ Key ค่า Dimension ในระหว่างการลงรายการ โปรแกรมบัญชีจะดึงค่า Dimension ต่างๆที่เราจัดเตรียมไว้มีใส่ใน Dimension ของรายการนี้ให้อัตโนมัติ ทำให้การอบรมพนักงานไม่ต่างกับการใช้โปรแกรมบัญชีปกติ แต่เราสามารถมีข้อมูลในรูปแบบ Multi Dimensions เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลชั้นสูงได้
โปรแกรมบัญชีแบบหลายสาขาโดยประยุกต์ใช้ระบบ Multi Dimensions
การใช้งานโปรแกรมบัญชีเพื่อให้รองรับระบบหลายสาขา โปรแกรมบัญชีโดยทั่วไปจะมีการออกแบบให้มีข้อมูลสาขาแยกออกมาเฉพาะ และในการบันทึกข้อมูลก็จะต้องมีการเลือกสาขาเพื่อให้ระบบนำไปใช้ในการออกรายงาน
โปรแกรมบัญชีแบบเริ่มต้นจะไม่รองรับระบบสาขา บางโปรแกรมก็รองรับบางส่วนไม่ครบทั้งระบบ เพราะการออกแบบระบบมีความยุ่งยาก ฐานข้อมูลและขั้นตอนการทำงานทุกส่วนต้องรองรับระบบสาขาด้วย
เช่นระบบคลังสินค้าก็ต้องมีข้อมูลของสาขากำกับ การโอนย้ายสินค้าข้ามคลังและข้ามสาขา ก็จะต้องมีการบันทึกรายการบัญชีเงินสะพัดเพื่อให้ข้อมูลของระบบบัญชีถูกต้อง การซื้อหรือขายสินค้า การรับจ่ายเงิน ไปจนถึงการบันทึกรายการทางบัญชีก็จะต้องมีการเชื่อมกับสาขาเสมอ
โปรแกรมบัญชี DimensionERP ออกแบบให้ข้อมูลสาขาเป็นมิติหนึ่งของระบบ Multi Dimensions และมีการเชื่อมกับทุกรายการที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ฐานข้อมูลหลักของระบบเช่นระบบคลังสินค้า ไปจนถึงรายการธุรกรรมต่างๆ เช่น การซื้อ ขายสินค้า การรับจ่ายเงิน เช็ค ไปจนถึงการลงบัญชี การออกรายงานต่างๆ ก็จะมีข้อมูลสาขาเชื่อมอยู่ตลอด
นอกจากการมีระบบที่รองรับสาขาได้แล้ว ปัญหาของโปรแกรมบัญชีทั่วไปคือไม่สะดวกที่จะให้สาขาใช้งานได้ เนื่องจากพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีแบบเก่าที่ไม่สามารถทำงานผ่าน Internet ได้ หรือไม่มีระบบจัดการความปลอดภัยที่ต้องการให้สาขาเห็นข้อมูลเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น ส่วนข้อมูลที่สำคัญเราจะให้สำนักงานใหญ่เห็นเท่านั้น
DimensionERP ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยี Cloud Computing ทำงานผ่านโครงข่าย Internet ทำให้สาขาสามารถใช้งานระบบได้อย่างสะดวก และยังมีระบบความปลอดภัยที่สามารถกำหนดสิทธิการใช้งานได้ ทำให้พนักงานสาขาเห็นข้อมูลและฟังก์ชันการทำงานที่จำเป็น
โครงสร้างผังบัญชีแบบปกติ
โครงสร้างผังบัญชีแบบปกติ ยากต่อการดูแล เมื่อมีการเพิ่มรายการวิเคราะห์ใหม่ เช่นเมื่อเพิ่มสาขาใหม่ กลุ่มสินค้าใหม่ ต้องมีการเพิ่มรายการข้อมูลเป็นทวีคูณ การจัดทำรายงานมีความยุ่งยาก
ระบบผังบัญชีทั่วไปเมื่อต้องการเพิ่มหมวดหมู่ย่อย ก็ต้องเพิ่มรหัสบัญชีใหม่ เช่นเมื่อมีการเปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนของระบบบัญชีแบบทั่วไปก็ต้องมีการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลจำนวนมาก
15000 สินค้าคงคลัง
15010 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า
15011 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า คลังสำนักงานใหญ่
15012 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า คลังเชียงใหม่
15020 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง
15021 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง คลังสำนักงานใหญ่
15022 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง คลังเชียงใหม่
15030 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ
15031 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ คลังสำนักงานใหญ่
15032 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ คลังเชียงใหม่
ผังบัญชีระบบหลายมิติ Multi Dimensions
ระบบผังบัญชีแบบ Multi Dimensions ในผังบัญชีเราจะมีหัวบัญชีหลักเพียงตัวเดียว โดยไม่มีหัวบัญชีย่อย ซึ่งเราจะย้ายไปเก็บไว้ในส่วนของ Dimension แทน เมื่อต้องการเพิ่มรายการวิเคราะห์ใหม่จะไม่กระทบกับผังบัญชี ง่ายต่อการดูแลและช่วยในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป
ผังบัญชีหลัก
- 15000 สินค้าคงคลัง
Dimension – สาขา
- สำนักงานใหญ่
- เชียงใหม่
- หาดใหญ่
Dimension – กลุ่มสินค้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้า
- วัสดุก่อสร้าง
- เครื่องมือ
- อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
Dimension – ทีมขาย
- ทีม 1
- ทีม 2
แนวทางการออกแบบ โครงสร้างข้อมูลแบบหลายมิติ
การออกแบบโครงสร้างของ Dimensions เราสามารถกำหนดได้อย่างอิสระว่าองค์กรของเราต้องการวิเคราะห์ข้อมูลในมิติไหนบ้าง และสามารถเพิ่มมิติใหม่เข้าไปได้เมื่อเราต้องการเพิ่มเติมภายหลัง โดยไม่กระทบกับโครงสร้างของผังบัญชี ทำให้โปรแกรมบัญชีสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างสะดวก
Dimension – สาขา
- สำนักงานใหญ่
- เชียงใหม่
Dimension – กลุ่มสินค้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้า
- วัสดุก่อสร้าง
- เครื่องมือ
เมื่อมีการเพิ่มสาขาหรือกลุ่มสินค้าใหม่
Dimension – สาขา
- สำนักงานใหญ่
- เชียงใหม่
- หาดใหญ่
Dimension – กลุ่มสินค้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้า
- วัสดุก่อสร้าง
- เครื่องมือ
- อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
เมื่อมีการเพิ่ม Dimension ใหม่ที่ต้องการวิเคราะห์ โดยเราต้องการวิเคราะห์ในมุมของทีมขาย ก็สามารถเพิ่มมิติทีมขาย โดยไม่ต้องแก้ไขผังบัญชี
- Dimension – สาขา
- Dimension – กลุ่มสินค้า
- Dimension – ทีมขาย
โดยรายละเอียดข้อมูลใน Dimension ใหม่ที่เพิ่มคือ ทีมขาย มีดังนี้
Dimension – ทีมขาย
- ทีม 1
- ทีม 2
การลงบัญชีซื้อขายสินค้า ของโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปทั่วไป
โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปทั่วไปใช้ผังบัญชีแบบปกติ ในการลงบัญชีเมื่อมีการซื้อหรือขายสินค้า ก็จะลงรายการตามหัวบัญชีที่เรากำหนดไว้ในแต่ละสินค้า เมื่อมีการเพิ่มสินค้ากลุ่มใหม่ก็ต้องมีการแก้ไขเพิ่มหมวดหมู่ใหม่ในผังบัญชี ในหลายส่วนเช่นหมวดลูกหนี้ เจ้าหนี้ รายได้จากการขาย รายจ่ายจากการซื้อ
นอกจากนี้การนำข้อมูลที่บันทึกไปวิเคราะห์ผลก็มีความยุ่งยาก บางโปรแกรมไม่สามารถวิเคราะห์ในรูปแบบ Multi Dimensions ได้เลย
การลงบัญชี ขายสินค้าและตั้งลูกหนี้
DB 13001 Account Receivable Bangkok
DB 41211 รายได้จากการขายสินค้า Hardware Bangkok
CR 22011 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีขายยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้า Bangkok
การลงบัญชี รับเงินและลดลูกหนี้
DB 11001 Cash on hand Bangkok
DB 22012 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีขายยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้า-Bangkok
CR 13001 Account Receivable-Bangkok
CR 22013 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีขาย-Bangkok
การบันทึกรายการทางบัญชีแบบ Multi Dimensions
Combined Posting เป็นการรวมเอารหัสบัญชีมารวมกับมิติที่ต้องการ ผังบัญชีกระชับและวิเคราะห์ได้หลายมุมมองตามต้องการ
เช่น
13000 = Account Receivable
HW = Hardware
BKK = Bangkok
ได้เป็น
13000-HW-BKK = Account Receivable-Hardware-Bangkok
การขายสินค้าและตั้งลูกหนึ้
DB 13000-HW-BKK Account Receivable-Hardware-Bangkok
DB 41200-HW-BKK รายได้จากการขายสินค้า-Hardware-Bangkok
CR 22001-HW-BKK ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีขายยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้า-Hardware-Bangkok
การรับเงินและล้างลูกหนี้
DB 11000-HW-BKK Cash on hand-Hardware-Bangkok
DB 22002-HW-BKK ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีขายยังไม่ได้รับชำระจากลูกค้า-Hardware-Bangkok
CR 13000-HW-BKK Account Receivable-Hardware-Bangkok
CR 22003-HW-BKK ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีขาย-Hardware-Bangkok
ฐานข้อมูลลูกค้าแบบหลายมิติ
ฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเราจะต้องเพิ่ม Dimension เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ในมิติที่ต่างๆได้ตามความต้องการ โปรแกรมบัญชี DimensionERP ออกแบบมาให้สามารถสร้างมิติต่างๆได้ตามต้องการ และนำมิติที่สร้างมาเชื่อมกับฐานข้อมูลลูกค้า เช่น
1. ข้อมูลลูกค้า
1. นายมั่งคั่ง สมบูรณ์
2. สำนักงานสรรพากรจังหวัดลำพูน
3. บริษัทไดเมนชั่นอีอาร์พีจำกัด
2. ประเภทลูกค้า
1. บุคคลธรรมดา
2. บริษัทขนาดเล็ก
3. บริษัทขนาดกลาง
4. บริษัทขนาดใหญ่
5. หน่วยงานราชการ
3. ท้องที่
1. กทม.
2. ภาคกลาง
3. ภาคใต้
4. ภาคเหนือ
5. ภาคอีสาน
เมื่อเราสร้างลูกค้าใหม่ เราก็จะสร้างข้อมูลหลักของลูกค้าให้ครบถ้วน จากนั้นก็จะเชื่อมเข้ากับข้อมูลมิติ เช่น
1. นายมั่งคั่ง สมบูรณ์ ประเภทลูกค้า-บุคคลธรรมดา ท้องที่-กทม.
2. สำนักงานสรรพากรจังหวัดลำพูน ประเภทลูกค้า-หน่วยงานราชการ ท้องที่-ภาคเหนือ
3. บริษัทไดเมนชั่นอีอาร์พีจำกัด ประเภทลูกค้า-บริษัทขนาดเล็ก ท้องที่-กทม.
เมื่อเชื่อมมิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแล้ว การนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ในการบันทึกรายการ เช่นการขายสินค้า การตั้งลูกหนี้ การรับเงิน ระบบจะนำข้อมูลมิติมาบันทึกให้อัตโนมัติ
ฐานข้อมูลสินค้าแบบ Multi Dimemsions
การออกแบบผังบัญชีเพื่อให้รองรับข้อมูลทางของสินค้าที่บริษัทจำหน่าย โดยทั่วไปก็จะวางผังบัญชีให้สอดคล้องกันไปกับการจัดกลุ่มสินค้า เช่นถ้าบริษัทมีกลุ่มสินค้าที่ขายดังนี้
1. อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. วัสดุก่อสร้าง
3. เครื่องมือ
4. อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
ในการจัดทำผังบัญชีก็จะต้องมีหมวดหมู่ย่อย
1. 15000 สินค้าคงคลัง
2. 15100 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า
3. 15200 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง
4. 15300 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ
5. 15400 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
นอกจากหมวดหมู่ย่อยของสินค้าคงคลังแล้ว ยังต้องมีการจัดหมวดหมู่ย่อยในหัวข้อรายได้จากการขายสินค้าอีกเช่น
1. 42000 รายได้จากการขายสินค้า
2. 42100 รายได้จากการขายสินค้า อุปกรณ์ไฟฟ้า
3. 42200 รายได้จากการขายสินค้า วัสดุก่อสร้าง
4. 42300 รายได้จากการขายสินค้า เครื่องมือ
5. 42400 รายได้จากการขายสินค้า อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
การใช้ระบบ Multi Dimensions ในโปรแกรมบัญชี DimensionERP ทำให้ความยุ่งยากในการจัดการผังบัญชีหมดไป โดยผังบัญชีเรามีแค่
1. 15000 สินค้าคงคลัง
2. 42000 รายได้จากการขายสินค้า
และมี Dimension กลุ่มสินค้า
1. อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. วัสดุก่อสร้าง
3. เครื่องมือ
4. อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
เมื่อมีการบันทึกรายการทางบัญชีทั้งด้านสินค้าคงคลัง และรายได้จากการขายสินค้า ระบบ Combined Posting จะดึง Dimension นี้มารวมกับผังบัญชีหลักให้อัตโนมัติ ทำให้การจัดการข้อมูลทางบัญชีของบริษัททำได้ง่ายขึ้น และยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในแต่ละมุมมองได้ต่อไป เช่น
1. 15000 สินค้าคงคลัง-อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. 15000 สินค้าคงคลัง-วัสดุก่อสร้าง
3. 15000 สินค้าคงคลัง-เครื่องมือ
4. 15000 สินค้าคงคลัง-อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
5. 42000 รายได้จากการขายสินค้า-อุปกรณ์ไฟฟ้า
6. 42000 รายได้จากการขายสินค้า-วัสดุก่อสร้าง
7. 42000 รายได้จากการขายสินค้า-เครื่องมือ
8. 42000 รายได้จากการขายสินค้า-อุปกรณ์อีเล็คทรอนิคส์
การประยุกต์ใช้ระบบ Multi Dimensions ในการเชื่อมข้อมูลสินค้ากับมิติอื่น
ผังบัญชีของคลังสินค้าที่มีการแยกเป็นรายการย่อยตามหมวดหมู่สินค้า เมื่อเราต้องการแยกย่อยในมิติของสาขา เราจะต้องเพิ่มจำนวนหมวดหมู่ย่อยของผังบัญชีจำนวนที่เป็นทวีคูณ
1. 15000 สินค้าคงคลัง
2. 15010 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า
3. 15011 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า คลังสำนักงานใหญ่
4. 15012 สินค้าคงคลัง อุปกรณ์ไฟฟ้า คลังเชียงใหม่
5. 15020 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง
6. 15021 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง คลังสำนักงานใหญ่
7. 15022 สินค้าคงคลัง วัสดุก่อสร้าง คลังเชียงใหม่
8. 15030 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ
9. 15031 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ คลังสำนักงานใหญ่
10. 15032 สินค้าคงคลัง เครื่องมือ คลังเชียงใหม่
ในการเพิ่มข้อมูลสาขา เราต้องแก้ไขข้อมูลผังบัญชีตัวอื่นที่เกี่ยวข้องอีกเช่น รายได้จากการขาย ต้นทุนขาย รายจ่ายจากการซื้อสินค้า จะเห็นว่ามีจำนวนข้อมูลที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนมาก
นอกจากการเพิ่มข้อมูลในผังบัญชีแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อก็คือโปรแกรมบัญชีมีการออกแบบให้รองรับระบบสาขา เพราะในระบบซื้อขาย เมื่อมีการซื้อขายสินค้าที่สำนักงานสาขา ซอฟท์แวร์บัญชีต้องสามารถลงบัญชีตามรหัสบัญชีของสาขาได้
การประยุกต์ใช้ระบบ Multi Dimensions โดยให้สาขาเป็นมิติหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้ดังนี้
1. 15000 สินค้าคงคลัง
2. 42000 รายได้จากการขายสินค้า
Dimension กลุ่มสินค้า
1. อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. วัสดุก่อสร้าง
3. เครื่องมือ
Dimension สาขา
1. สำนักงานใหญ่
2. เชียงใหม่
การใช้โปรแกรมบัญชีแบบ Multi Dimensions ทำให้การเพิ่มข้อมูลต่างๆ ทำได้ง่าย ระบบจะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลแต่ละมิติให้อัตโนมัติ
ฐานข้อมูลพนักงานขายแบบ Multi Dimensions
ในการวิเคราะห์ข้อมูลการขายสินค้าของบริษัทแยกตามพนักงานขายหรือทีมขาย การคำนวณ Commission ตามยอดขายของแต่ละคนหรือยอดรวมตามทีม โดยปกติเราก็ต้องใช้โปรแกรม Excel มาช่วยในการรวบรวมข้อมูลเหล่านี้มาเพื่อคำนวณ Commission ในแต่ละเดือน
ในเชิงการวิเคราะห์ข้อมูล เรายังสามารถวิเคราะห์ยอดขายตามพนักงานขาย เพื่อดูสรุปได้ว่าพนักงานคนนี้ถนัดขายสินค้ากลุ่มไหน และควรปรับปรุงทักษะในด้านไหนเพื่อให้ยอดขายดีขึ้น หรือสามารถดูยอดขายตามพื้นที่ว่าสินค้าประเภทนี้ขายดีในพื้นที่ไหน
เราสามารถเพิ่ม Dimension ทีมขายเข้าไปในระบบ และเมื่อมีรายการขายเกิดขึ้นโปรแกรมบัญชี DimensionERP ก็จะดึงข้อมูล Dimension ของทีมขายตามพนักงานขาย มารวมเข้ามาเป็นข้อมูลในการลงบัญชีให้อัตโนมัติ
42000 รายได้จากการขายสินค้า
Dimension สาขา
- สำนักงานใหญ่
- อยุธยา
- เชียงใหม่
- อุบลราชธานี
- หาดใหญ่
Dimension กลุ่มสินค้า
- อุปกรณ์ไฟฟ้า
- วัสดุก่อสร้าง
- เครื่องมือ
Dimension ทีมขาย
- ทีม A กรุงเทพ
- ทีม B ภาคกลาง
- ทีม C ภาคเหนือ
- ทีม D ภาคอีสาน
- ทีม E ภาคใต้
การลงบัญชี 42000 รายได้จากการขายสินค้า เมื่อมีการเพิ่มมิติของทีมขาย
- 42000-กทม-วัสดุก่อสร้าง-ทีม A
- 42000-อยุธยา-วัสดุก่อสร้าง-ทีม B
- 42000-เชียงใหม่-วัสดุก่อสร้าง-ทีม C
- 42000-อุบลราชธานี-วัสดุก่อสร้าง-ทีม D
- 42000-หาดใหญ่-วัสดุก่อสร้าง-ทีม E
- 42000-กทม-อุปกรณ์ไฟฟ้า-ทีม A
- และ Combined Posting อื่นๆอีก
การบันทึกรายการซื้อขาย รับจ่าย พร้อมลงข้อมูล Dimensions อัตโนมัติ
จากที่ได้อธิบายไปในส่วนของการเชื่อมโยง Dimension ต่างๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่าในแต่ละหัวข้อเราจะวิเคราะห์ในมุมมองไหนบ้าง ซึ่งพอสรุปได้เป็น
- สินค้า – กลุ่มสินค้า ซึ่งอาจจะมีหลายระดับ
- ลูกค้า – กลุ่มลูกค้า, พื้นที่
- บริษัท – แผนก, สาขา, ทีมขาย, Cost Center, Profit Center, พื้นที่
จะเห็นได้ว่าข้อมูลในแต่ละส่วนมี Dimension เชื่อมอยู่ ซึ่งเราจะมีการ Set ค่าต่างๆเหล่านี้ไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นใช้งานระบบ เช่น
- ข้อมูลสินค้าก็จะมีการผูกข้อมูลกลุ่มสินค้า
- ข้อมูลลูกค้าก็จะผูกกับกลุ่มลูกค้ากับพื้นที่
- ข้อมูลพนักงานขายที่ Login เข้ามาใช้งาน ก็จะมีข้อมูลทีมขาย, สาขา, Cost Center ผูกกับข้อมูลพนักงานไว้แล้ว่
ดังนั้นในขั้นตอนการทำรายการของโปรแกรมบัญชี ในส่วนการซื้อขาย รับจ่าย ของพนักงาน ก็จะทำงานเหมือนกับการใช้งานโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปทั่วไป หน้าจอการทำงานก็ไม่ต่างกัน ทำให้ไม่ต้องมีการฝึกอบรมการใช้งานมาก
และเมื่อบันทึกรายการ ระบบก็จะดึงข้อมูล Dimension ที่ Set ไว้แล้วมาสร้างเป็นโครงสร้าง Multi Dimensions ของรายการซื้อขาย รับจ่าย นั้นให้อัตโนมัติ และ Save ข้อมูลลงไปในระบบ โดยที่พนักงานไม่ต้องมีความรู้เรื่องระบบหลายมิติ
ความซับซ้อนของการจัดเก็บข้อมูลแบบหลายมิติ
การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Multi Dimensions จะมีความซับซ้อน เช่นตัวอย่างข้อมูลการขายสินค้าที่มีการเก็บข้อมูลในหลายๆมิติ ประกอบด้วย
- เวลา
- สินค้า
- จำนวน
- สาขา
- กลุ่มสินค้า
- พนักงานขาย
- ทีมขาย
- กลุ่มลูกค้า
- พื้นที่ลูกค้า
เมื่อมีการบันทึกรายการขายสินค้าไปเรื่อยๆ โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป DimensionERP ก็จะมีการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์ผลต่อไป
Quarter | สินค้า | จำนวน | ราคารวม | สาขา | กลุ่มสินค้า | พนักงานขาย | ทีมขาย | กลุ่มลูกค้า | พื้นที่ลูกค้า |
Q1 | Installation | 100 | 100,000 | BKK | Service | Somchai | TeamA | SME | Central |
Q2 | Notebook | 250 | 3,750,000 | BKK | Hardware | Somchai | TeamA | SME | Central |
Q3 | Windows 7 | 200 | 700,000 | BKK | Software | Somchai | TeamA | SME | Central |
Q1 | Installation | 200 | 200,000 | BKK | Service | Somsak | TeamB | Enterprise | Bangkok |
Q2 | Notebook | 400 | 6,000,000 | BKK | Hardware | Somsak | TeamB | Enterprise | Bangkok |
Q3 | Windows 7 | 350 | 1,225,000 | BKK | Software | Somsak | TeamB | Enterprise | Bangkok |
Q1 | Installation | 80 | 80,000 | CM | Service | Choosak | TeamA | SME | Chiangmai |
Q2 | Notebook | 100 | 1,500,000 | CM | Hardware | Choosak | TeamA | SME | Chiangmai |
Q3 | Windows 7 | 90 | 315,000 | CM | Software | Choosak | TeamA | SME | Chiangmai |
Q1 | Installation | 100 | 100,000 | CM | Service | Choochai | TeamC | Retail | North |
Q2 | Notebook | 130 | 1,950,000 | CM | Hardware | Choochai | TeamC | Retail | North |
Q3 | Windows 7 | 120 | 420,000 | CM | Software | Choochai | TeamC | Retail | North |
Q1 | Installation | 60 | 60,000 | HY | Service | Yingsak | TeamA | SME | Hadyai |
Q2 | Notebook | 80 | 1,200,000 | HY | Hardware | Yingsak | TeamA | SME | Hadyai |
Q3 | Windows 7 | 70 | 245,000 | HY | Software | Yingsak | TeamA | SME | Hadyai |
Q1 | Installation | 120 | 120,000 | HY | Service | Yingyai | TeamC | Retail | South |
Q2 | Notebook | 150 | 2,250,000 | HY | Hardware | Yingyai | TeamC | Retail | South |
Q3 | Windows 7 | 130 | 455,000 | HY | Software | Yingyai | TeamC | Retail | South |
การนำข้อมูลที่เก็บไปวิเคราะห์ในรูปแบบหลายมิติ
จากการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบที่มีความซับซ้อน จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเรานำเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ เพราะเราสามารถวิเคราะห์ได้ในหลายมุมมอง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเภทธุรกิจ ว่าต้องการวิเคราะห์ในมุมมองไหนบ้าง โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป DimensionERP ก็ทำให้ท่านสามารถวิเคราะห์ผลในรูปแบบหลายมิติได้อย่างง่ายดาย
ตัวอย่างการวิเคราะห์ยอดขาย แยกตามสินค้า แยกตามสาขา รวมยอดจำนวนเงิน
Sum - ราคารวม | สาขา | |||
สินค้า | BKK | CM | HY | Total Result |
Installation | 300,000 | 180,000 | 180,000 | 660,000 |
Notebook | 9,750,000 | 3,450,000 | 3,450,000 | 16,650,000 |
Windows 7 | 1,925,000 | 735,000 | 700,000 | 3,360,000 |
Total Result | 11,975,000 | 4,365,000 | 4,330,000 | 20,670,000 |
ตัวอย่างการวิเคราะห์ยอดขาย แยกตามสินค้า แยกตามสาขา รวมยอดตามจำนวนชิ้น
Sum - จำนวน | สาขา | |||
สินค้า | BKK | CM | HY | Total Result |
Installation | 300 | 180 | 180 | 660 |
Notebook | 650 | 230 | 230 | 1110 |
Windows 7 | 550 | 210 | 200 | 960 |
Total Result | 1500 | 620 | 610 |
2730 |
ตัวอย่างการวิเคราะห์ยอดขาย แยกตามกลุ่มสินค้า แยกตามสาขา รวมยอดตามจำนวนเงิน
Sum - ราคารวม | สาขา | |||
กลุ่มสินค้า | BKK | CM | HY | Total Result |
Hardware | 9,750,000 | 3,450,000 | 3,450,000 | 16,650,000 |
Service | 300,000 | 180,000 | 180,000 | 660,000 |
Software | 1,925,000 | 735,000 | 700,000 | 3,360,000 |
Total Result | 11,975,000 | 4,365,000 | 4,330,000 | 20,670,000 |
ตัวอย่างการวิเคราะห์ยอดขาย แยกตามสินค้า แยกตามทีมขาย รวมยอดตามจำนวนเงิน
Sum - ราคารวม | ทีมขาย | |||
สินค้า | TeamA | TeamB | TeamC | Total Result |
Installation | 240,000 | 200,000 | 220,000 | 660,000 |
Notebook | 6,450,000 | 6,000,000 | 4,200,000 | 16,650,000 |
Windows 7 | 1,260,000 | 1,225,000 | 875,000 | 3,360,000 |
Total Result | 7,950,000 | 7,425,000 | 5,295,000 | 20,670,000 |
ตัวอย่างการวิเคราะห์ยอดขาย แยกตามกลุ่มลูค้า แยกตามทีมขาย รวมยอดตามจำนวนเงิน
Sum - ราคารวม | ทีมขาย | |||
กลุ่มลูกค้า | TeamA | TeamB | TeamC | Total Result |
Enterprise | 7,425,000 | 7,425,000 | ||
Retail | 5,295,000 | 5,295,000 | ||
SME | 7,950,000 | 7,950,000 | ||
Total Result | 7,950,000 | 7,425,000 | 5,295,000 | 20,670,000 |